วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2561

บทบาทของเครื่องดังฟัง

เครื่องดักฟัง กับคดีวอเตอร์เกต

ถ้าจะให้พูดถึงเครื่องดักฟัง เป็นเครื่องมือใช้ดักฟังการสนทนาของผู้ที่เป็นเป้าหมาย เพื่อให้ล่วงรู้ความลับของเป้าหมาย โดยที่เป้าหมายไม่รู้ตัวเลยว่า ว่าถูกดักฟังการสนทนาอยู่ โดยเจ้าเครื่องดักฟังนั้น จะมีขนาดเล็กมาก มักติดตั้งในมุมอับสายตา หรือใกล้ปลั๊กไฟ เพราะเครื่องดักเสียงสนทนามีขนาดเล็กทำให้ตัวแบตเตอรี่เองก็ย่อมขนาดเล็กตามไปด้วย ทำให้การใช้งานโดยไม่เสียบชาร์จไฟไว้ อยู่ได้ประมาณชั่วโมงกว่า

เครื่องดักฟังถูกนำมาใช้งานได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการคบชู้ของคนที่เป็นคู่รัก หรือการสืบข้อมูลทางธุรกิจ เพื่อให้ล่วงรู้จุดอ่อนของบริษัทคู่แข่งเรา หรือการสืบราชการลับ เพื่อหาหลักฐานเอาผิดข้าราชการที่ได้กระทำการทุจริต ฉ่อโกงเงินหลวง เราจะเห็นได้ว่าเครื่องดักฟังสามารถถูกนำมาใช้ได้หลายรูปแบบและที่สำคัญยังซื้อได้ง่ายตามท้องตลาดออนไลน์ทั่วไป เหมือนตัวอย่างคดีดังอยู่เรื่องหนึ่งที่กลายเป็นเรื่องอื้อฉาวระดับทั่วโลก คือ ข่าวคดีวอเตอร์เกต

คดีวอเตอร์เกตนั้น เกิดขึ้นในยุคของประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ประธานาธิบดีคนที่ 37 แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นหนึ่งในเรื่องที่รั่วไหลสุดอื้อฉาวซึ่งเป็นที่จักกันมากที่สุด มีจุดเริ่มต้นอยู่ที่โรงแรมวอเตอร์เกต คอมเพล็กซ์ ซึ่งเป็นสำนักงานใหญ่ระดับชาติของพรรคเดโมรแครต ที่กรุงวอชิงตัน ดี ซี ในวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ.1972 ได้ถูกแอบติดตั้งสายดักฟังโทรศัพท์เอาไว้ ซึ่งสำนักงานสอบสวนกลางสหรัฐฯ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อของ เอฟบีไอ ได้ทำการสืบสวนต่อไปจนระทั่งพบความเชื่อมโยงเงินสดที่พบในตัวของผู้ต้องสงสัยกับ “ คณะกรรมการเพื่อการเลือกตั้งประธานธิบดีสมัยที่2 ” เป็นผู้ที่สนับสนุนทางการเงินในการเลือกตั้งครั้งที่2 ของประธานาธิบดีนิกสัน แต่การสืบสวนก็ได้หยุดชะงักลงไป โดยเชื่อกันว่าถูกขัดขวางการสืบสวนจากทางทารทำเนียบขาว

ถึงอย่างนั้นก็ตาม ในช่วงปลายปี 1972 ได้มีแหล่งปริศนารายหนึ่งซึ่งใช้นามแฝงว่า

“ ดีป โธต ” (Deep Throat) ซึ่งได้เปิดเผยข้อมูลลับในภายหลังที่ว่า มาร์ก เฟลต์ อดีตเจ้าหน้าที่ เอฟบีไอ ที่ได้คอยส่งข้อมูลต่างๆกับการสืบสวนคดีนี้ให้แก่ คาร์ล เบิร์นสไตล์ และ บ็อบ วูดวาร์ด นักข่าวของสำนักข่าว วอชิงตัน โพสต์ โดยแฉว่า คณะทำงานของประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ได้เข้ามามีการส่วนเกี่ยวข้องในการติดตั้งเครื่องดักฟังสนทนา และได้เปิดเผยเป็นครั้งแรกว่า ทางการทำเนียบขาวเป็นผู้ออกคำสั่งให้ เอฟบีไอ และสำนักงานข่าวกรองกลาง หรือ ซีไอเอ มีคำสั่งให้หยุดการสืบสวนคดีนี้ โดยอ้างให้เหตุผลไว้ว่า จะกระทบผลด้านความมั่นคง แต่การสืบสวนคดีนี้ทำให้รู้ว่า ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ได้แอบติดตั้งเครื่องดักเสียงสนทนาเอาไว้ในที่ทำเนียบขาวมาโดยตลอด เพื่อที่จะบันทึกการสนทนาทั้งทางโทรศัพท์และโทรศัพท์ส่วนตัว คณะกรรมการพิเศษซึ่งตั้งขึ้นเพื่อทำการเพื่อสืบสวนคดีนี้โดยเฉพาะ จึงขอให้ประธานานธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ให้ส่งมอบเทปบันทึกเสียงสนทนาให้กับเจ้าหน้าที่ ซึ่งในช่วงแรกประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ไม่ยอมที่ส่งมอบเทปบันทึกเสียงสนทนาให้ แต่ภายหลังจากการที่มีประชาชนเดินขบวนประท้วงต่อต้านและได้มีการฟ้องร้องต่อศาล จนในที่สุดประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ก็ต้องยอมส่งมอบเทปบันทึกเสียงสนทนาตามที่คำสั่งศาลสูงสุด ในเดือน กรกฎาคม ค.ศ. 1974 ซึ่งเทปบันทึกเสียงการสนทนานี้ได้กลายเป็นหลักฐานชิ้นสำคัญที่ว่า ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสันเป็นผู้สั่งให้ผู้ช่วยได้เข้าไปแทรกแซงการทำงานของเอฟบีไอ จนทำให้มีการไปสู่การลาออกจากการประธานาธิบดี ของ ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ในวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ.1974 ในคดีนี้ทำให้ ริชาร์ด นิกสัน ได้กลายเป็นประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกา เป็นคนแรกและคนเดียวที่ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดี